ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของ นางสาวเนตรนภา วันทุมา (เมย์)สาขาวิชาคณิตศาสตร์

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง

ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๙๗  เดิมมีชื่อว่า ”วิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึง”(Chombueng Village Institute) โดยก่อตั้งเป็นสถานศึกษาตามแนวคิด  "วิทยาลัยหมู่บ้าน"ของประเทศตุรกีมีจุดมุ่งหมายในการก่อตั้ง ๔ ประการคือ

๑. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูในชนบทที่ต้องการพัฒนา  โดยคัดเลือกนักเรียนในท้องถิ่นทุรกันดารเข้าศึกษาเป็นอันดับแรกเมื่อศึกษาสำเร็จแล้วให้กลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตน
๒. เพื่อปลูกฝังนักศึกษาครูให้รักอาชีพครูโดยผ่านการศึกษาเล่าเรียนและฝึกงานหลายแบบ  เพื่อนำความรู้ความชำนาญไปลงมือปฏิบัติได้
๓. เพื่อให้นักศึกษาครูรู้จักปฏิบัติตนในการเข้าสังคมโดยอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตยคือการเคารพนับถือกันช่วยเหลือเกื้อกูลกันมีสติ
๔. เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาในท้องถิ่นใกล้เคียง  ในระยะแรกวิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึงได้เปิดสอนหลักสูตร ๕ ปี  โดยรับนักศึกษาทุนจากถิ่นทุรกันดารจากทั่วประเทศซึ่งสำเร็จชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๗ เข้าเรียนเมื่อสำเร็จแล้วจะได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความหมายของสื่อการสอน

     สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ......ประเภทของสื่อการเรียนการสอน.............สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
........1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
........2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
........3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง
........4.สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)
สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามประสบการณ์
...............1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง
............. 2. ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตรายไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า
.............3. ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น
............4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด
............5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง
............6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง
............7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์
...........8. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียงซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย
...........9. ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิแผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น
...........10.วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตามเราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา
สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติ Wilbure Young  ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้
1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ
2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ
3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริปเครื่องฉายสไลด์
5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯ

สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามรูปแบบ(Form)Louis Shores ได้แบ่งประเภทสื่อการสอนตามแบบไว้ ดังนี้
1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ
2 วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ ( Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ
3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ
4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง

สื่อการเรียนการสอนตามลักษณะและการใช้
1. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware)
2. วัสดุ (Software)
3. เทคนิคหรือวิธีการ (Techinques or Methods)
คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
....1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ
....1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
....1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
....1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
....1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
....2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
....2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
....2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
....2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
....2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
....2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
....2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
....2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
....2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
....2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
....2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล

คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน
    1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
      2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
      3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
      4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
      5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
     6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
      7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
      8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม

ความหมายของวิธีระบบ

ความหมายของวิธีระบบ
     ความหมายของวิธีระบบระบบ คือ ภาพรวมของโครงการหรือขวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงสร้างหรือขบวนการนั้น........
      องค์ประกอบของระบบมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1. ข้อมูลป้อนเข้า (input) ได้แก่ วัตถุดิบ ข้อมูลดิบ ปัญหา ความต้องการ วัตถุประสงค์ ข้อกำหนด กฎเกณฑ์
2. กระบวนการ (process) ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอนซึ่งอาจเป็นวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้
3. ผลลัพธ์ (output) ได้แก่ ผลงานท ได้มาจากข้อมูลป้อนเข้าและกระบวนการซึ่งจะนำไปประเมินผล
4. ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ได้แก่ ผลการประเมินการทำงานของระบบซึ่งสาสมารถประเมินย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน......ขั้นตอนการจัดระบบเป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน โดยการรวบรวมข้อมูล และทรัพยากร วิเคราะห์ปัญหา และรวบรวมวิธีการแก้ปัญหา ประเมินผลลัพธ์ที่ได้ ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ประกอบด้วยขั้นตอน 4 ขั้น
          1. ขั้นการวิเคราะห์ระบบ (system analysis) แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย คือ
              1.1 วิเคราะห์แนวทางปฏิบัติงาน
              1.2 วิเคราะห์หน้าที่
              1.3 วิเคราะห์งาน
              1.4 วิเคราะห์วิธีการและสื่อ
          2. ขั้นการสังเคราะห์ระบบ (system synthesis) มีขั้นย่อยดังนี้
              2.1 การเลือกวิธีการหรือกลวิธี
              2.2 การแก้ปัญหา
              2.3 การประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน
         3. ขั้นการสร้างแบบจำลอง (construct a model)วิธีการเขียนแบบจำลอง อาจเขียนได้หลายแบบ เช่น แบบจำลองแนวนอน แบบจำลองแนวตั้ง แบบจำลองแนวนอนผสมแนวตั้ง แบบจำลองวงกลมหรือวงรี แบบจำลองกึ่งแผนกึ่งรูปภาพ แบบจำลองเชิง คณิตศาสตร์ เป็นต้น
         4. ขั้นการจำลองสถานการณ์ (systematical simulation) เป็นการทดลองใช้ระบบตามแบบจำลองที่สร้างขึ้นในสภาพการณ์เลียนแบบสถานการณ์จริง.........

วิธีระบบในการเรียนการสอน
1. ระบบการเรียนการสอนของเกอร์ลาช แบะอีลี ประกอบด้วย 10 ขั้นตอน
     1.1 การกำหนดจุดมุ่งหมาย
     1.2 การกำหนดเนื้อหา
     1.3 การประเมินพฤติกรรมเบื้องต้น
     1.4 การกำหนดกลยุทธวิธีการสอน
     1.5 การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน
     1.6 การกำหนดเวลาเรียน
     1.7 การจัดสถานที่เรียน
     1.8 การเลือกสรรทรัพยากร
     1.9 การประเมิน
     1.10 การวิเคราะห์ผลย้อนกลับ
2. ระบบการผลิตชุดการสอนแผนจุฬา มีขั้นตอนสำคัญ 10 ขั้นตอน
     2.1 กำหนดหมวดหมู่เนื้อหาและประสบการณ์
     2.2 กำหนดหน่วยการสอน
     2.3 กำหนดหัวเรื่อง
     2.4 กำหนดมโนทัศน์และหลักการ
     2.5 กำหนดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับหัวเรื่อง
     2.6 กำหนดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
     2.7 กำหนดแบบประเมินผล
     2.8 เลือกและผลิตสื่อการสอน
     2.9 หาประสิทธิภาพชุดการสอน
     2.10 การใช้ชุดการสอน
3. ระบบการสอนตามแนวพุทธวิธี สรุปได้ดังนี้
     3.1 ขั้นนำ เป็นการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อการสร้างเจตคติที่ดีต่อครู เนื้อหาบทเรียน นอกจากนี้ยังเป็นขั้นการเสนอสิ่งเร้า และแรงจูงใจ
     3.2 ขั้นสอน เป็นการนำสถานการณ์ ปัญหา และหลักการในการแก้ปัญหามาฝึกทักษะในการคิด และการปฏิบัติ
     3.3 ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน เพื่อให้ได้ประเด็นและแนวคิดที่ชัดเจน........

วิธีระบบกับสื่อการเรียนการสอน
1. การผลิตสื่อ เป็นขั้นตอนการสร้างสรรค์วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการให้มีคุณภาพดี
2. การใช้สื่อ เป็นขั้นการแสดงสื่อในขณะทำการสอนหรือถ่ายทอดเนื้อหาให้ผู้เรียนมีประสบการณ์เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
3. การเก็บรักษาสื่อ จะช่วยให้การค้นหาหรือหยิบมาใช้ได้สะดวกรวดเร็ว ช่วยในการตรวจสอบได้ง่ายรูปแบบจำลองการผลิตและการใช้สื่อแบบ The Assure Modelมีคำอธิบายดังต่อไปนี้
     1. การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถในการรับรู้ และเรียนแตกต่างกัน การใช้สื่อการเรียน การสอนให้ได้ผลดี ต้องคำนึงถึงธรรมชาติของผู้เรียน เป็นสำคัญ เช่น วัย เพศ ระดับการศึกษา สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ความเชื่อ
     2. การกำหนดวัตถุประสงค์ แต่ละเนื้อหาบทเรียนควรทำให้ครอบคลุมการเรียนด้านต่างๆ
          2.1 ด้านความรู้ความเข้าใจ
          2.2 ด้านจิตใจ
          2.3 ด้านทักษะหรือความชำนาญ
     3. การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อที่เหมาะสมมาใช้ประกอบการเรียนการสอน สามารถทำได้ 3 วิธี คือ
          3.1 การเลือก
          3.2 การดัดแปลง
          3.3 การผลิต
     4. การใช้สื่อ เป็นขั้นการแสดงสื่อประกอบการเรียนการสอนจริง ซึ่งครูผื้สอนต้องใช้เทคนิคและหลักการให้ดีที่สุด
     5. การกำหนดการตอบสนองต่อสื่อและเนื้อหาบทเรียน
     6. การประเมิน ใช้สื่อการเรียนการสอนสามารถทำได้ 3 ลักษณะ คือ
          6.1 การประเมินกระบวนการสอน
          6.2 การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน
          6.3 การประเมินสื่อและวิธีการสอน

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยี
     ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า “วิทยาศาสตร์ประยุกต์” หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “เทคโนโลยี”
     เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ที่นำเอาเทคโนโลยี มาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)
     เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
     สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน 
    Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่าง เป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการนอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
          1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ “โสตทัศนศึกษา” นั่นเอง
          2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ-นามสกุล : เนตรนภา  วันทุมา
ชื่อเล่น : เมย์
วันเกิด : 4  กุมภาพันธ์  2535
โปรแกรมวิชา : คณิตศาสตร์
ชั้นปีที่ : 2
หมู่ : 1
คณะ : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภูมิลำเนา : กาญจนบุรี
รายวิชา : เทคโนโลยีการศึกษา
อาจารย์ผู้สอน : สุจิตตรา  จันทร์ลอย (อ.แจ๊ค)
รหัสนักศึกษา : 534143043
คติประจำใจ : การตัดสินใจในวันนี้คืออนาคตของวันข้างหน้า
ความสามารถพิเศษ : แต่งกลอน