ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของ นางสาวเนตรนภา วันทุมา (เมย์)สาขาวิชาคณิตศาสตร์

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความหมายของวิธีระบบ

ความหมายของวิธีระบบ
     ความหมายของวิธีระบบระบบ คือ ภาพรวมของโครงการหรือขวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงสร้างหรือขบวนการนั้น........
      องค์ประกอบของระบบมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1. ข้อมูลป้อนเข้า (input) ได้แก่ วัตถุดิบ ข้อมูลดิบ ปัญหา ความต้องการ วัตถุประสงค์ ข้อกำหนด กฎเกณฑ์
2. กระบวนการ (process) ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอนซึ่งอาจเป็นวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้
3. ผลลัพธ์ (output) ได้แก่ ผลงานท ได้มาจากข้อมูลป้อนเข้าและกระบวนการซึ่งจะนำไปประเมินผล
4. ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ได้แก่ ผลการประเมินการทำงานของระบบซึ่งสาสมารถประเมินย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน......ขั้นตอนการจัดระบบเป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน โดยการรวบรวมข้อมูล และทรัพยากร วิเคราะห์ปัญหา และรวบรวมวิธีการแก้ปัญหา ประเมินผลลัพธ์ที่ได้ ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ประกอบด้วยขั้นตอน 4 ขั้น
          1. ขั้นการวิเคราะห์ระบบ (system analysis) แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย คือ
              1.1 วิเคราะห์แนวทางปฏิบัติงาน
              1.2 วิเคราะห์หน้าที่
              1.3 วิเคราะห์งาน
              1.4 วิเคราะห์วิธีการและสื่อ
          2. ขั้นการสังเคราะห์ระบบ (system synthesis) มีขั้นย่อยดังนี้
              2.1 การเลือกวิธีการหรือกลวิธี
              2.2 การแก้ปัญหา
              2.3 การประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน
         3. ขั้นการสร้างแบบจำลอง (construct a model)วิธีการเขียนแบบจำลอง อาจเขียนได้หลายแบบ เช่น แบบจำลองแนวนอน แบบจำลองแนวตั้ง แบบจำลองแนวนอนผสมแนวตั้ง แบบจำลองวงกลมหรือวงรี แบบจำลองกึ่งแผนกึ่งรูปภาพ แบบจำลองเชิง คณิตศาสตร์ เป็นต้น
         4. ขั้นการจำลองสถานการณ์ (systematical simulation) เป็นการทดลองใช้ระบบตามแบบจำลองที่สร้างขึ้นในสภาพการณ์เลียนแบบสถานการณ์จริง.........

วิธีระบบในการเรียนการสอน
1. ระบบการเรียนการสอนของเกอร์ลาช แบะอีลี ประกอบด้วย 10 ขั้นตอน
     1.1 การกำหนดจุดมุ่งหมาย
     1.2 การกำหนดเนื้อหา
     1.3 การประเมินพฤติกรรมเบื้องต้น
     1.4 การกำหนดกลยุทธวิธีการสอน
     1.5 การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน
     1.6 การกำหนดเวลาเรียน
     1.7 การจัดสถานที่เรียน
     1.8 การเลือกสรรทรัพยากร
     1.9 การประเมิน
     1.10 การวิเคราะห์ผลย้อนกลับ
2. ระบบการผลิตชุดการสอนแผนจุฬา มีขั้นตอนสำคัญ 10 ขั้นตอน
     2.1 กำหนดหมวดหมู่เนื้อหาและประสบการณ์
     2.2 กำหนดหน่วยการสอน
     2.3 กำหนดหัวเรื่อง
     2.4 กำหนดมโนทัศน์และหลักการ
     2.5 กำหนดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับหัวเรื่อง
     2.6 กำหนดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
     2.7 กำหนดแบบประเมินผล
     2.8 เลือกและผลิตสื่อการสอน
     2.9 หาประสิทธิภาพชุดการสอน
     2.10 การใช้ชุดการสอน
3. ระบบการสอนตามแนวพุทธวิธี สรุปได้ดังนี้
     3.1 ขั้นนำ เป็นการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อการสร้างเจตคติที่ดีต่อครู เนื้อหาบทเรียน นอกจากนี้ยังเป็นขั้นการเสนอสิ่งเร้า และแรงจูงใจ
     3.2 ขั้นสอน เป็นการนำสถานการณ์ ปัญหา และหลักการในการแก้ปัญหามาฝึกทักษะในการคิด และการปฏิบัติ
     3.3 ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน เพื่อให้ได้ประเด็นและแนวคิดที่ชัดเจน........

วิธีระบบกับสื่อการเรียนการสอน
1. การผลิตสื่อ เป็นขั้นตอนการสร้างสรรค์วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการให้มีคุณภาพดี
2. การใช้สื่อ เป็นขั้นการแสดงสื่อในขณะทำการสอนหรือถ่ายทอดเนื้อหาให้ผู้เรียนมีประสบการณ์เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
3. การเก็บรักษาสื่อ จะช่วยให้การค้นหาหรือหยิบมาใช้ได้สะดวกรวดเร็ว ช่วยในการตรวจสอบได้ง่ายรูปแบบจำลองการผลิตและการใช้สื่อแบบ The Assure Modelมีคำอธิบายดังต่อไปนี้
     1. การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถในการรับรู้ และเรียนแตกต่างกัน การใช้สื่อการเรียน การสอนให้ได้ผลดี ต้องคำนึงถึงธรรมชาติของผู้เรียน เป็นสำคัญ เช่น วัย เพศ ระดับการศึกษา สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ความเชื่อ
     2. การกำหนดวัตถุประสงค์ แต่ละเนื้อหาบทเรียนควรทำให้ครอบคลุมการเรียนด้านต่างๆ
          2.1 ด้านความรู้ความเข้าใจ
          2.2 ด้านจิตใจ
          2.3 ด้านทักษะหรือความชำนาญ
     3. การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อที่เหมาะสมมาใช้ประกอบการเรียนการสอน สามารถทำได้ 3 วิธี คือ
          3.1 การเลือก
          3.2 การดัดแปลง
          3.3 การผลิต
     4. การใช้สื่อ เป็นขั้นการแสดงสื่อประกอบการเรียนการสอนจริง ซึ่งครูผื้สอนต้องใช้เทคนิคและหลักการให้ดีที่สุด
     5. การกำหนดการตอบสนองต่อสื่อและเนื้อหาบทเรียน
     6. การประเมิน ใช้สื่อการเรียนการสอนสามารถทำได้ 3 ลักษณะ คือ
          6.1 การประเมินกระบวนการสอน
          6.2 การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน
          6.3 การประเมินสื่อและวิธีการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น